ทำความเข้าใจการตรวจดาวน์ซินโดรมขณะตั้งครรภ์

คุณแม่หลายคนมีความกังวลระหว่างตั้งครรภ์เกี่ยวกับภาวะโรคดาวน์ซินโดรมของลูกน้อย ซึ่งปัจจุบันมีวิธีตรวจคัดกรองหลายวิธี แล้ววิธีไหนเหมาะกับอายุครรภ์ และความเหมาะสมของคุณแม่ เรามาดูกัน

ลักษณะโรคดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรม คือ ภาวะที่เด็กมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินจะส่งผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการของทารก ทำให้มีพัฒนาการช้า มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และอาจพบโรคอื่นๆร่วมด้วย 

ปัจจัยที่ทำให้ทารกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมมีอะไรบ้าง 

ภาวะดาวน์ซินโดรมเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แต่จะมีบางปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้น ได้แก่ 

1.พันธุกรรมเนื่องจากโรคดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรรม หากคนในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่เป็นโรคนี้หรือเป็นพาหะของโรคก็จะมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นโรคดาวน์ซินโดรมสูงขึ้น 

2.อายุเมื่อคุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  

3.เคยตั้งครรภ์บุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรมหากคุณแม่เคยตั้งครรภ์บุตรที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมาก่อน นั่นหมายความว่าคุณแม่หรือคุณพ่อเป็นพาหะ และการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปทารกในครรภ์ก็จะยังมีโอกาสป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรมอยู่เช่นเดิม 

การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม 

การตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่  

1.การตรวจ NIPT เป็นการตรวจเลือดของคุณแม่ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป มีความปลอดภัยสูง ไม่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร มีความแม่นยำของผลตรวจจะอยู่ที่ 99% 

2.การตรวจ FTS เป็นการตรวจคัดกรอง 2 ขั้นตอน โดยเจาะเลือดของคุณแม่และอัลตราซาวด์เพื่อดูความหนาคอของทารก สามารถตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ มีความแม่นยำ75-85 % 

3.การตรวจ Quadruple Test เป็นการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการในช่วงไตรมาสที่สอง โดยเจาะเลือดคุณแม่ไปตรวจ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ มีความแม่นยำอยู่ที่ 81 % 

4.ตรวจน้ำคร่ำ โดยใช้เข็มเจาะดูดน้ำคร่ำผ่านทางหน้าท้องและนำน้ำคร่ำไปตรวจ แพทย์จะให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่ตรวจด้วยวิธีอื่นๆแล้ว พบว่ามีความเสี่ยงสูง จึงต้องการยืนยันผล โดยเป็นการตรวจจากดีเอ็นเอของทารกโดยตรง แต่มีความเสี่ยงเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว ติดเชื้อ หรือแท้งได้ 

โรคดาวน์ซินโดรมเป็นโรคที่รักษาไม่หาย คุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ เลือกวีที่เหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด การตรวจพบได้เร็วย่อมส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อย