อิคิไก คือ การใช้ชีวิตให้มีคุณค่า สร้างพลังงานดี ๆ ให้กับตัวเอง

อิคิไก คือ หลักปรัชญาชีวิตที่หลายคนนำมาปรับใช้ โดยเป็นแนวคิดแบบชาวญี่ปุ่นที่สื่อถึง เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ แนวคิดนี้สามารถเป็นกำลังใจ เติมเต็มความรู้สึกให้กับผู้ที่กำลังท้อ หมดพลังในการใช้ชีวิต กลับมารู้ถึงคุณค่าในการมีชีวิตต่อไป และใช้อย่างคุ้มค่า

ความหมายของคำว่า อิคิไก คือ

อิคิไก เป็นภาษาญี่ปุ่น โดยความหมายของคำว่า อิคิ แปลว่า การใช้ชีวิต ส่วนคำว่า ไก แปลว่า คุณค่า เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ความหมายที่ตรงตัวก็คือ “คุณค่าการใช้ชีวิต” ซึ่งก็ตรงกับจุดประสงค์ของปรัชญานี้ที่ต้องการให้ผู้คนรู้คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ โดยหลักการนี้เชื่อว่าการค้นพบความต้องการของตัวเองจะสามารถทำให้การใช้ชีวิตมีความสุขได้

เริ่มต้นการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญา อิคิไก คือ ต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ก่อน

  1. อะไรคือสิ่งที่เรารัก อะไรที่ทำแล้วมีความสุข
  2. อะไรบ้างที่เราสามารถทำได้ดี อะไรคือจุดเด่นของเรา
  3. สิ่งที่ทำแล้วสร้างรายได้คืออะไร เราเลี้ยงชีพจากอะไร
  4. ทุกวันนี้อะไรคือสิ่งที่สังคมต้องการ ทุกวันนี้เราทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้าง

เมื่อเรานำคำตอบทั้ง 4 ข้อมาใส่ในวงกลมทั้ง 4 มาสกันจะเกิดผลลัพธ์ดังนี้

สิ่งที่เรารัก กับ สิ่งที่เราสามารถทำได้ดี = ความหลงใหล

สิ่งที่เรารัก กับ สิ่งที่สังคมต้องการ = หน้าที่

สิ่งที่เราทำได้ดี เป็นจุดเด่น กับ สิ่งที่ทำแล้วสร้างรายได้ = อาชีพ

สิ่งที่สังคมต้องการจากเรา กับ สิ่งที่ทำแล้วเป็นการทำให้เกิดรายได้ = งาน

ซึ่งคำตอบทั้งหมดนี้ก็คือข้อดีของการมีชีวิตอยู่ของเรา นั่นก็เป็นเพราะว่าทุกคนบนโลกนี้มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน มีความถนัดที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้มีความสำคัญ มีหน้าที่ ในสังคมไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะทำให้สังคมอยู่ได้หากทุกคนรู้หน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า อิคิไก คือ ปรัชญาที่ทำให้เราหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองเจอ และทำให้รู้ว่าการใช้ชีวิตนั้นแสนจะเรียบง่ายไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เพียงแต่ได้อยู่กับสิ่งที่รัก ทำแล้วมีความสุข สามารถตอบแทนสังคมได้บ้างเป็นครั้งคราว เพียงเท่านี้เราก็ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าอย่างที่คนคนหนึ่งจะทำได้แล้ว ดังนั้นหากใครกำลังสับสน ท้อแท้ ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วต้องการอะไร ใช้ชีวิตเพื่ออะไร ก็ลองนำปรัชญานี้ไปปรับใช้ดูบางทีเรื่องยาก ๆ ที่กำลังเจออยู่อาจจะง่ายขึ้นมาได้