การตรวจ NIPT คืออะไร มีขั้นตอนการตรวจอย่างไรบ้าง

หากคุณแม่ตั้งครรภ์กำลังมีความสนใจในการตรวจ NIPT อยู่ บทความนี้มีรายละเอียดของขั้นตอนในการตรวจ และรายละเอียดอื่นๆที่มีความสำคัญ เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ในการพิจารณาสำหรับการตัดสินใจเพื่อตรวจ NIPT

การตรวจ NIPT คืออะไร?

การตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) คือ การตรวจหาความเสี่ยงและทำการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา เพื่อคัดกรองความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการดาวน์ หรือโรคอื่นๆที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม สามารถรอผลการทดสอบได้ 5-14 วัน ซึ่งการทดสอบนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ตรวจ NIPT มีวิธีการตรวจอย่างไร

จะใช้เวลาในการตรวจไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะมีความคล้ายกับการเจาะเลือดเพื่อตรวจเช็กสุขภาพทั่วไป ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ไปโรงพยาบาลที่รับตรวจ NIPT วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และทำประวัติสุขภาพ จากนั้นเข้าพบแพทย์ปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่ต้องการมาตรวจ
  • แพทย์จะเจาะเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จากนั้นจะนำตัวอย่างเลือดไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการคัดแยกโครโมโซมของทารกที่ปนในเลือดของมารดา

จุดเด่นของการตรวจ NIPT

  • ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน เพราะเป็นเพียงการเจาะเก็บตัวอย่างเลือด แล้วส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • นอกจากการตรวจที่โรงพยาบาลแล้ว ยังสามารถตรวจ NIPT ได้ที่คลินิกสูตินรีเวชอีกหลายแห่ง
  • รอผลตรวจประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น
  • ผลตรวจจะมีความแม่นยำสูงถึง 99% โอกาสในการแปลผลผิดพลาดมีน้อย

การตรวจ NIPT จะสามารถคัดกรองโรคใดได้บ้าง

ตรวจเพื่อหาความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์มารดาอาจมีความผิดปกติของกลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการพาทัว และกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด ซึ่งกลุ่มอาการพาทัวและกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด จะพบได้น้อยกว่ากลุ่มของอาการดาวน์ แต่จะมีความรุนแรงของอาการและโอกาสการเสียชีวิตของทารกมีสูง

คุณแม่ตั้งครรภ์ท่านใดควรตรวจ NIPT

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติอื่นๆ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีประวัติคนในครอบครัวมีโครโมโซมผิดปกติ และคุณแม่ตั้งครรภ์เองเคยมีประวัติการคลอดบุตรที่ผิดปกติ

อายุครรภ์เท่าไร ควรตรวจ NIPT

สามารถที่จะตรวจ NIPT ได้ในช่วงของอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่โครโมโซมของทารกเริ่มที่จะมีการปะปนอยู่ในเลือดมารดาแล้ว จึงสามารถที่จะตรวจวิเคราะห์โดยการเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดได้

การตรวจ NIPTนั้นไม่ได้บังคับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องทำการตรวจทุกคน แต่เพื่อความมั่นใจว่าทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการดาวน์ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรที่จะไปตรวจเพื่อความสบายใจ และจะได้วางแผนสำหรับการคลอดบุตรต่อไป