อาการที่บ่งบอกถึง โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นมาจากการที่ไขมัน และเนื้อเยื่อ มีการสะสมในปริมาณที่มากจนเกินไป ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดที่อยู่ชั้นใน มีการก่อตัวที่หนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยที่อาการดังกล่าวจะส่งผลให้มีอาการเจ็บตรงบริเวณหน้าอก และถ้าหากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดมาจากสาเหตุ มีคราบไขมันที่สะสมอยู่ตรงบริเวณผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออก และกลายมาเป็นลิ่มเลือด ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหาใจตายเฉียบพลัน อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะส่งผลให้เสียชีวิตกะทันหันได้นั่นเอง

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีย ที่เกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายทำงานหนักจนเกินไป จนทำให้ไม่สามารถส่งกระแสเลือด และออกซิเจนไปยังหัวใจได้ โดยเฉพาะในขณะที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ช่วงเวลาการออกกำลังกาย เป็นต้น โดยที่โรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เจ็บหน้าอก(Angina) : ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอกบริเวณกลางหรือด้านซ้ายของหน้าอกลามไปจนถึงช่วงแขน คอ กราม ใบหน้าหรือช่องท้อง และอาจบรรเทาลงได้เมื่อนั่งพัก หรือหยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด โดยสาเหตุมักเกิดจากการที่หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย หรือความเครียด เป็นต้น
  • หายใจติดขัด: ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจติดขัดหรือหอบเหนื่อยรุนแรง หากหัวใจไม่ได้รับเลือดที่เพียงพอในการส่งต่อไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • หัวใจวาย: หลอดเลือดอุดตันอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายและอาจถึงตายได้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกและปวดบริเวณหัวไหล่หรือแขน ประกอบกับการหายใจติดขัดและเหงื่อออกก่อนเกิดภาวะหัวใจวาย หากผู้ป่วยมีภาวะความดันตกหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติและเสียชีวิตได้
  • หัวใจล้มเหลว: ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจอ่อนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจติดขัดจากภาวะน้ำท่วมปอด เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือหากมีอาการน้ำท่วมปอดรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

หากผู้ป่วยคนไหน ที่มีอาการดังกล่าว และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น อาจจะต้องได้รับการรักษาโดยการใช้ยา โดยที่ยาจะเข้าไปทำหน้าที่ในการลดความดันโลหิต หรือขยายหลอดเลือด เพื่อที่จะช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียน และสูบฉีดเลือดในหัวใจให้ดีชึ้นได้